เตือนภัยโรคซึมเศร้า

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคซึมเศร้า




โรคซึมเศร้า ถือเป็นโรคยอดฮิตที่ได้ยินกันบ่อยอย่างยิ่งโดยเฉพาะผู้คนในยุคสมัยนี้ ใครก็ตามที่มีความเครียดเป็นทุนเดิมยามทำกิจกรรมใด ๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวัน บุคคลนั้นย่อมมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้นเท่านั้น ซึ่งนอกจากการใช้ชีวิตในแต่ละวันแล้ว สารเคมีที่หลั่งออกมาจากสมองก็มีส่วนที่เป็นปัจจัยให้เกิดโรคดังกล่าว หลายคนหรือคนข้างนอกอาจมองว่า โรคซึมเศร้าเป็นโรคของคนอ่อนแอ แต่ความจริงแล้ว โรคซึมเศร้าเป็นกระบวนการทางความคิดและจิตอย่างหนึ่งที่ตัวผู้เป็นไม่สามารถควบคุมได้ในบางเวลา

ทั้งนี้ทั้งนั้น โรคซึมเศร้ามีวิธีการแสดงออกที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็แสดงทางสีหน้า อารมณ์ ความรู้สึก หรือบ้างก็แสดงออกด้วยวิธีที่แปลกประหลาดออกไป จนในบางครั้ง การแสดงออกดังกล่าวอาจไม่ได้ทำให้ผู้พบเห็นหรือเจ้าตัวคิดว่าตนเองนั้นเป็น “โรคซึมเศร้า” เรามาลองดูสัญญาณแปลก ๆ เหล่านั้นกันดีกว่า
  1. การช้อปปิ้งอย่างบ้าคลั่ง: คุณเคยสังเกตตัวเองไหมว่า คุณเองก็เป็นคนหนึ่งที่ใช้จ่ายโดยที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ สำหรับใครที่เป็นโรคซึมเศร้า นั่นเป็นเรื่องปกติที่เขาจะซื้อของอย่างเสียสติ ไม่ว่าจะในห้างสรรพสินค้าหรือผ่านโลกออนไลน์ เพื่อหวังจะเบี่ยงเบนความสนใจจากความเครียดหรือปลุกความมั่นใจของตนเอง แต่การรักษาความเครียดด้วยวิธีดังกล่าวเกิดขึ้นเพียงชั่วเวลาสั้น ๆ เท่านั้น คุณจะมิได้ใช้จ่ายอย่างเสียสติเป็นเวลายาวนานติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมดังกล่าวนี้ ในบางรายอาจเป็นโรคอารมณ์สองขั้วหรือไบโพล่าก็เป็นได้
     
  2. การดื่มอย่างหนัก: หากคุณรู้สึกว่าคุณต้องการดื่มเพื่อจัดการกับความวิตกกังวลหรืออาการซึมเศร้าต่าง ๆ นั่นอาจบ่งบอกได้ว่า คุณเป็นหนึ่งในนั้น แม้ว่าการดื่มจะทำให้คุณรู้สึกอิ่มเอิบและเบิกบานมากขึ้นยามคุณรู้สึกแย่ ๆ ซึ่งแอลกอฮอล์นั้นเป็นตัวกดประสาท ดังนั้น หากคุณดื่มมาก ๆ เข้า นั่นอาจทำให้โรคซึมเศร้ามีผลที่ตรงกันข้ามและย่ำแย่ขึ้นไปอีกได้
     
  3. ความหลงลืม: โรคซึมเศร้า อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการที่คุณเริ่มหลง ๆ ลืม ๆ ผลการศึกษาแสดงว่า โรคซึมเศร้าหรือภาวะเครียดที่เกิดขึ้นเป็นเวลานานจะเพิ่มระดับคอร์ติซอล หรือฮอร์โมนความเครียดของร่างกาย ซึ่งจะทำให้ส่วนหนึ่งของสมองอ่อนแอลง อันเกี่ยวโยงกับความทรงจำและการเรียนรู้ แน่นอนว่าโรคซึมเศร้ามีความเกี่ยวเนื่องกับการสูญเสียความทรงจำ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยดีนักสำหรับผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม ข่าวดีก็คือ การรักษาโรคซึมเศร้าจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องความจำได้
     
  4. การใช้อินเทอร์เน็ตมากเกินไป: การเสพติดโลกออนไลน์มากกว่าโลกความเป็นจริง เป็นอาการหนึ่งของคนเป็นโรคซึมเศร้า กล่าวคือ คุณใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตมากจนเกินไป ผู้คนที่ใช้อินเทอร์เน็ตมากเกินไปมีแนวโน้มที่จะใช้เวลาบนสื่อโป๊เปลือย เกม หรือสังคมออนไลน์เสียทั้งสิ้น
     
  5. กระหน่ำกินอย่างบ้าคลั่งและตามมาด้วยโรคอ้วน: ผลการศึกษาเมื่อปี 2010 จากมหาวิทยาลัยอัลบามาเผยว่า วัยรุ่นที่เป็นโรคซึมเศร้า มีแนวโน้มที่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น แถมยังมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจอีกด้วย นอกจากนี้ โรคซึมเศร้ายังเกี่ยวโยงกับการกินอาหารในจำนวนมาก โดยเฉพาะคนวัยกลางคน ซึ่งการรักษาโรคซึมเศร้าจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว
     
  6. การขโมยของ: ประมาณสามส่วนของหัวขโมยทั้งหลาย เป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้า สำหรับใครก็ตามที่รู้สึกไม่มีพละกำลังและรู้สึกว่าตนเองไม่สำคัญ การขโมยของจะช่วยทำให้เขารู้สึกตรงกันข้าม คือ มีพละกำลังและรู้สึกว่าตนเองสำคัญ และพวกเขาจะเฉยชากับสิ่งที่ตนเองกระทำ ซึ่งในความจริงแล้ว สิ่งของที่พวกเขาขโมยมานั้นไม่ได้สำคัญเท่ากับความรู้สึกที่พวกเขารู้สึกเลย
     
  7. การปวดหลัง: อาการเจ็บหลังเรื้อรัง ส่วนหนึ่งมาจากโรคซึมเศร้า 42 เปอร์เซ็นต์ของผู้คนที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังเคยผ่านประสบการณ์การเป็นโรคซึมเศร้ามาแล้วทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี ผู้คนมักเพิกเฉยต่อการเป็นโรคซึมเศร้า เพราะพวกเขาคิดว่า การเจ็บปวดต่าง ๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเป็นโรคซึมเศร้าแต่อย่างใด
     
  8. พฤติกรรมทางเพศ: การเป็นโรคซึมเศร้านั้นเกี่ยวข้องกับการสูญเสียความต้องการทางเพศ  แต่ในบางรายก็อาจใช้เรื่องเพศเพื่อจัดการรับมือกับปัญหาโรคซึมเศร้า การเป็นโรคซึมเศร้า อาจเพิ่มพฤติกรรมสำส่อนทางเพศ การนอกใจ การเสพติดการมีเพศสัมพันธ์ และพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน ทั้งนี้ อาการดังกล่าวอาจเกี่ยวโยงถึงการเป็นโรคอารมณ์สองขั้วได้เช่นกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลเสียต่อสุขภาพและชีวิตส่วนตัว
     
  9. การแสดงออกทางอารมณ์ที่สุดเหวี่ยง: หลาย ๆ คนที่เป็นโรคซึมเศร้ามักหลุดหรือเผลอแสดงอารมณ์มากจนเกินปกติ บางครั้งก็ขี้โมโหหรือระเบิดอารมณ์ออกมา บ้างก็เศร้าเสียใจ หมดหวัง วิตกกังวล และหวาดกลัว ปัญหาสำคัญคือ สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น คนบางคนที่เดิมทีเป็นคนนิ่งเฉย เมื่อมีอารมณ์ความรู้สึกพุ่งสูง ก็อาจนำมาซึ่งโรคซึมเศร้าได้
     
  10. เสพติดการพนัน: การพนันอาจทำให้คุณรู้สึกตื่นเต้นและกระชุ่มกระชวย แต่หากคุณเสพติดการเล่นนั้นจนเป็นนิสัย คุณอาจเศร้าเสียใจหรือทุกข์ทรมานใจจากมันก็เป็นได้ หลายคนกล่าวว่า พวกเขารู้สึกวิตกกังวลและซึมเศร้าก่อนที่พวกเขาจะเริ่มเล่นการพนัน และเมื่อเจอความผิดหวังก็อาจทำให้ความรู้สึกย่ำแย่ลงไปอีกได้
     
  11. การสูบบุหรี่: มีปัญหากับการเลิกบุหรี่หรือไม่? การเป็นโรคซึมเศร้าจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเป็นสองเท่าในการสูบบุหรี่ เรียกได้ว่า ยิ่งซึมเศร้ายิ่งสูบหนัก (ประมาณ 1 ซองต่อวัน หรือสูบบุหรี่ทุก ๆ 5 นาที) การเลิกบุหรี่นั้นใช้เทคนิคเดียวกันกับการรักษาโรคซึมเศร้า กล่าวคือ ใช้เทคนิคการบำบัดด้วยการรับรู้หรือใช้ยาเพื่อรักษาอาการซึมเศร้า
     
  12. ไม่ใส่ใจตนเอง: การละเลยหรือไม่ใส่ใจตนเอง เป็นสัญญาณของโรคซึมเศร้าและการขาดความมั่นใจในตนเอง พฤติกรรมอาจเริ่มตั้งแต่การไม่แปรงฟัน หรืออาจจะไปถึงขั้นโดดสอบ และไม่ใส่ใจโรคร้ายต่าง ๆ ที่ตนเป็น เป็นต้น
โรคซึมเศร้า ไม่ใช่โรคของคนอ่อนแอหรือขี้ขลาด หากแต่เป็นโรคที่เกี่ยวพันกับสารเคมีภายในสมองของเขาด้วย ดังนั้น คนรอบข้างจงโปรดทำความเข้าใจและเจ้าตัวเองก็จำต้องมั่นสังเกตตนเองเสมอ ๆ บางครั้งอาจต้องอาศัยองค์ประกอบหรือปัจจัยหลาย ๆ อย่างประกอบกันไป ทั้งสิ่งแวดล้อม คนรอบข้าง และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ จิตใจที่เข้มแข็ง ปัจจัยทั้งหลายนี้เมื่อประกอบรวมกันได้ดี อาการและความรู้สึกต่าง ๆ ก็ย่อมมีเปอร์เซ็นต์ที่จะผันแปรไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน 

เครดิต:https://www.honestdocs.co/hidden-signs-of-depression

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประวัติศาสตร์ของ หมื่นสุนทรเทวา

สุภาษิตและสำนวนที่เป็นภาษาอังกฤษ

วันวาเลนไทน์