บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2018

มารี กีมาร์

        เชื่อว่าหลายๆคนคงรู้จักกับขนมไทยกันดี ไม่ว่าจะเป็น ทองหยิบ ทองหยอด หรือต่างๆอีกมาก คุณทราบหรือไม่ว่าคนที่ทำขนมพวกนี้ขึ้นเป็นต้นตำหรับของขนมเหล่านี้เป็นใครกัน วันนี้จะพามารู้จักกับ ท้าวทองกีบม้า หรือ มารี กีมาร์  ประวัติ ท้าวทองกีบม้า คำว่า  ท้าวทองกีบม้า คือตำแหน่งหน้าที่การงานในพระราชสำนักตามพระไอยการ  และชื่อ  มารี กีมาร์ ก็เป็นชื่อที่คนส่วนใหญ่ชอบเรียก แต่จริงๆ แล้วเธอมี ชื่อจริงว่า มารีอา กูโยมาร์ เด ปิญญา (Maria Guyomar de Pinha)  อ่านชื่อก็น่าจะพอเดากันออกว่าเธอไม่ใช่คนไทยแท้ๆ  ครอบครัวของมารี เป็นคริสตังเชื้อสายโปรตุเกส และยังมีเชื้อสาย เบงกอล และญี่ปุ่น ร่วมด้วย โดยเธอเป็นลูกคนโตของคุณพ่อ ฟานิก กูโยมาร์ (Fanik Guyomar) ซึ่งมีเชื้อสายโปรตุเกส, ญี่ปุ่น และเบงกอล ที่อพยพมาจากอาณานิคมโปรตุเกสในเมืองกัว และมีคุณแม่ชื่ออูร์ซูลา ยะมะดะ (Ursula Yamada) ผู้ลี้ภัยจากการเบียดเบียนศาสนาในญี่ปุ่น มารี กีมาร์ได้ สมรสตอนอายุ 16 ปี กับเจ้าพระยาวิชเยนทร์ หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอ น เขาเป็นขุนนางชาวกรีกที่ทำราชการในรัช...

Daifuku (ไดฟุกุ)

รูปภาพ
      ในบรรดาขนมหวานสัญชาติญี่ปุ่น คงไม่มีใครไม่คุ้นชื่อไดฟุกุ (Daifuku : 大福) เป็นแน่!! บางคนบอกว่าไดฟุกุที่ขายกันในร้านขนมเมืองไทย ทั้งรสชาติและวิธีการผลิตนั้นต่างจากไดฟุกุที่ญี่ปุ่นอย่างสิ้นเชิง จนหลายๆคนต้องดั้นด้นไปถึงถิ่นเพื่อหาเจ้าไดฟุกุรสชาติแท้ๆมาชิมให้ได้สักครั้งหนึ่ง…     วัตถุดิบ  (สำหรับ 16 ลูก) 1. สตอเบอรี่ลูกเล็ก 16 ลูก 2. ถั่วแดงบด 320g (ลูกละ 20g) 3. แป้งข้าวเหนียว 200g 4. น้ำตาล 100g 5. น้ำ 300cc 6. แป้งมัน ตามความเหมาะสม วิธีการทำ  (ใช้เวลาประมาณ 30 นาที) ขั้นตอนแรก  เตรียมสตอเบอรี่ นำสตอเบอรี่ไปล้างน้ำ หั่นจุกด้านบนออก และใช้ผ้าเช็ดให้สะอาด ขั้นตอนที่สอง  นำถั่วแดงบดห่อสตอเบอรี่ นำถั่วแดงบด 20g มาปั้นเป็นก้อนกลมๆแล้วใช้มือบีบให้แผ่ออก หลังจากนั้นก็นำไปห่อสตอเบอรี่โดยเหลือให้ปลายแหลมโผล่ออกมานิดหน่อย ขั้นตอนที่สาม  เตรียมแป้งชั้นนอก นำแป้งข้าวเหนียวมาผสมกับน้ำตาล โดยค่อยๆเติมน้ำลงไปที่ละนิดแล้วค่อยๆคนให้เข้ากัน ขั้นตอนที่สี่  การทำแป้งโมจิ ห่อด้วยแร็พใสแล้วนำไปอบด้วยไมโครเวฟความร้อน ...

เตือนภัยโรคซึมเศร้า

รูปภาพ
โรคซึมเศร้า  ถือเป็นโรคยอดฮิตที่ได้ยินกันบ่อยอย่างยิ่งโดยเฉพาะผู้คนในยุคสมัยนี้ ใครก็ตามที่มีความเครียดเป็นทุนเดิมยามทำกิจกรรมใด ๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวัน บุคคลนั้นย่อมมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้นเท่านั้น ซึ่งนอกจากการใช้ชีวิตในแต่ละวันแล้ว สารเคมีที่หลั่งออกมาจากสมองก็มีส่วนที่เป็นปัจจัยให้เกิดโรคดังกล่าว หลายคนหรือคนข้างนอกอาจมองว่า โรคซึมเศร้าเป็นโรคของคนอ่อนแอ แต่ความจริงแล้ว โรคซึมเศร้าเป็นกระบวนการทางความคิดและจิตอย่างหนึ่งที่ตัวผู้เป็นไม่สามารถควบคุมได้ในบางเวลา ทั้งนี้ทั้งนั้น โรคซึมเศร้ามีวิธีการแสดงออกที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็แสดงทางสีหน้า อารมณ์ ความรู้สึก หรือบ้างก็แสดงออกด้วยวิธีที่แปลกประหลาดออกไป จนในบางครั้ง การแสดงออกดังกล่าวอาจไม่ได้ทำให้ผู้พบเห็นหรือเจ้าตัวคิดว่าตนเองนั้นเป็น “โรคซึมเศร้า” เรามาลองดูสัญญาณแปลก ๆ เหล่านั้นกันดีกว่า การช้อปปิ้งอย่างบ้าคลั่ง : คุณเคยสังเกตตัวเองไหมว่า คุณเองก็เป็นคนหนึ่งที่ใช้จ่ายโดยที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ สำหรับใครที่เป็นโรคซึมเศร้า นั่นเป็นเรื่องปกติที่เขาจะซื้อขอ...